เมนู

ภูเขาจักรวาลหยั่งลึกลงในมหาสมุทร
82,000 โยชน์ สูงพ้นมหาสมุทร 82,000
โยชน์เหมือนกัน ทั้งหมดได้ตั้งแวดล้อมโลกธาตุ
ไว้แล.
(นี้ชื่อว่าสันดานของรูปที่ไม่มีใจครอง).
แม้ในสันดานของรูปที่มีใจครอง (อุปาทินนกสันดาน) ก็ปรากฏ
เป็นของใหญ่นั่นแหละด้วยอำนาจแห่งสรีระมีปลา เต่า เทพ และทานพเป็นต้น
ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
มหาสมุทร สัตว์ใหญ่ แม้ยาวตั้งร้อยโยชน์ก็มีเป็นต้น.

ว่าด้วยมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น


ข้อว่า มหาภูตคือนักเล่นกลเป็นต้น มีอธิบายว่า มหาภูตรูปเหล่านี้
เปรียบด้วยนักเล่นกล ย่อมทำน้ำอันมิใช่แก้วมณีเลยให้เป็นแก้วมณี ย่อมแสดง
ก้อนดินอันมิใช่ทองคำเลยให้เป็นทองคำได้ ฉันใด อนึ่ง ตัวเอง (มหาภูตรูป)
มิใช่เป็นยักษ์ มิใช่เป็นปักษี (นก) ย่อมแสดงความเป็นยักษ์บ้าง เป็นปักษีบ้าง
ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือตัวเอง (มหาภูตรูป) มิใช่เป็นสีเขียว
ก็แสดงอุปาทารูป (รูปอาศัย) ให้เป็นสีเขียว ตัวเองมิใช่เป็นสีเหลืองก็แสดง
อุปาทารูปให้เป็นสีเหลือง มิใช่เป็นสีแดง. . . มิใช่สีขาวก็แสดงอุปาทารูปให้
เป็นสีขาวได้ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็น
เหมือนมหาภูต คือนักเล่นกล.
อนึ่ง มหาภูตคือยักษ์ผู้ชายเป็นต้นย่อมสิงวัตถุใด หรือสัตว์ใด ที่อัน
เป็นภายใน หรือภายนอกของวัตถุนั้น หรือของสัตว์นั้น ก็หามัน (คือมหาภูต
ตัวยักษ์ผู้ชายเป็นต้นนั้น) ไม่ได้ และมิใช่มันจะไม่แอบอิงวัตถุนั้นหรือสัตว์นั้น
อยู่ก็หาไม่ ข้อนี้ ฉันใด มหาภูตรูปแม้เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะค้นหา
1. อํ. อฏฺฐกนิปาต เล่ม 23. 109/202

ภายในหรือภายนอกของกันและกันก็หาไม่ได้ และมิใช่มหาภูตรูปเหล่านั้นจะไม่
อาศัยซึ่งกันและกันอยู่ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อมหาภูตะเพราะ
เป็นเช่นกับมหาภูต* มียักษ์ผู้ชายเป็นต้น เพราะความเป็นฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงคิด.
อนึ่งมหาภูตคือนางยักษิณีปกปิดความที่มันเป็นปีศาจน่ากลัวจึงล่อลวง
สัตว์ทั้งหลายโดยให้สีสรรค์ทรวดทรงและการเยื้องกรายอันน่าชื่นใจ ฉันใด
มหาภูตะแม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปกปิดลักษณะอันเป็นสภาวะของตนอัน
ต่างโดยความเป็นของแข็งเป็นต้น ของตนไว้โดยผิวพรรณอันน่าชื่นใจ ด้วย
ทรวดทรงแห่งอวัยวะน้อยใหญ่อันน่าชื่นใจ ด้วยการกรีดกรายมือ เท้า นิ้วมือ
และยักคิ้วอันน่าชื่นใจในร่างกายหญิงชายเป็นต้น ย่อมล่อลวงคนเขลา ย่อม
ไม่ให้เห็นสภาวะของตน เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะมันเหมือน
มหาภูต (มหาปีศาจ) คือ นางยักษิณี เพราะทำความล่อลวง ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เพราะต้องบำรุงรักษามาก คือ เพราะต้องบริหารด้วย
ปัจจัยเป็นอันมาก จริงอยู่ รูปเหล่านี้ ชื่อว่า มหาภูตะ ด้วยอรรถว่าต้อง
ให้เป็นไปโดยการกินการอยู่และเครื่องนุ่งห่มเป็นอันมาก เพราะต้องน้อมเข้าไป
ทุก ๆ วัน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งต้อง
บำรุงรักษามาก ดังนี้ก็มี.
คำว่า เพราะวิการใหญ่ ได้แก่ เพราะมหาภูตะทั้งหลายเปลี่ยนแปลง
ใหญ่ จริงอยู่ รูปเหล่านี้ เป็นรูปที่มีใจครองก็ดี เป็นรูปที่ไม่มีใจครองก็ดี
ย่อมเป็นของเปลี่ยนแปลงใหญ่ บรรดารูปทั้ง 2 นั้น รูปที่ไม่มีใจครองย่อม
ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในคราวกัปพินาศ ส่วนรูปที่มีใจครองย่อม
ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงมากในเวลาธาตุกำเริบ.
จริงอย่างนั้น ตามที่ท่านกล่าวว่า
* มหาภูต หมายถึงภูตผีปีศาจที่ตัวใหญ่

ในคราวใด โลกจะพินาศด้วยไฟเผา-
ผลาญ ในคราวนั้น ไฟย่อมโพลงขึ้นตั้งแต่พื้น
ดินไปถึงพรหมโลก.

ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยน้ำ
กำเริบในคราวนั้น แสนโกฏิจักรวาลย่อมละลาย
ไปเป็นอันเดียวกันด้วยน้ำกรด.

ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยลม
กำเริบ ในคราวนั้น ลมย่อมยังแสนโกฏิจักรวาล
ให้กระจัดกระจายไปเป็นอันเดียวกัน.

กายใด ที่ถูกงูชื่อกัฏฐมุขะ (งูปากไม้)
ขบเอาแล้วย่อมแข็งกระด้าง ฉันใด กายนั้น
ย่อมเป็นดุจอยู่ในปากงูกัฏฐมุขะขบเอา เพราะ
ความที่ปฐวีธาตุเสียไปฉันนั้น กายใด ที่ถูกงู
ชื่อปูติมุขะ (งูปากเน่า) ขบเอาแล้ว ย่อมเน่า
ฉันใด กายนั้น ย่อมดุจอยู่ในปากงูปูติมุขะ
ขบเอา เพราะความที่อาโปธาตุเสียไปฉันนั้น
กายใด ที่ถูกงู ชื่ออัคคิมุขะ (งูปากไฟ)
ขบเอาแล้วย่อมเร่าร้อน ฉันใด กายนั้น ย่อม
เป็นดุจอยู่ในปากงูอัคคิมุขะขบเอา เพราะ
ความที่เตโชธาตุเสียไปฉันนั้น กายใด ที่ถูกงู
ชื่อสัตถมุขะ (งูปากศาสตรา) ขบเอาแล้ว
ย่อมขาดเป็นชิ้น ฉันใด กายนั้นย่อม

เป็นดุจอยู่ในปากงูสัตถมุขะขบเอา เพราะ
ความที่วาโยธาตุเสียไป ฉันนั้น.

รูปที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็นของวิการคือเปลี่ยนแปลงใหญ่ด้วย
ประการฉะนี้.
ข้อว่า เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่ จริงอยู่ รูปเหล่านั้น ชื่อว่า
เป็นของใหญ่ เพราะเป็นของที่ต้องประดับประคองด้วยความเพียรใหญ่ และที่
ชื่อว่า มีอยู่ เพราะเป็นของที่ปรากฏมีอยู่ เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะ
เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่. มหาภูตรูปเป็นรูปใหญ่ ด้วยเหตุเป็นของใหญ่เป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า จตุนฺนํ จ มหาภูตานํ อุปาทาย รูปํ (และรูปที่อาศัย
มหาภูตรูป 4) นี้เป็นสามีวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ (ให้แปลว่าอาศัยซึ่ง
มหาภูตรูป 4) อธิบายว่า รูปอาศัยอิงอาศัยไม่ปล่อยมหาภูตทั้ง 4 เป็นไป.
บทว่า อิทํ วุจฺจติ สพฺพํ รูปํ (นี้เรียกว่ารูปทั้งหมด) ความว่า
รูปนี้มีประเภท 27 คือ มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 23 ตามที่ยกขึ้นแสดง
โดยลำดับแห่งบทนี้ ชื่อว่า รูปทั้งหมด.

อรรถกถาแสดงมาติการูปกัณฑ์


ว่าด้วยเอกมาติกา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงรูปนั้นโดยพิสดาร เมื่อ
จะทรงตั้งมาติกาด้วยการสงเคราะห์รูป 11 หมวด มีรูปหมวดหนึ่งเป็นต้น
จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุ (รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ) เป็นต้น.